วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

เตือนผิงไฟระวังโรคผิวหนังไหม้-ท้องร่วง

สภาพอากาศที่เริ่มหนาวเย็นที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ กระทบต่อสุขภาพประชาชนล่าสุดมีคำเตือนจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดให้ระวัง เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากพบผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนังไหม้ที่เกิดจากการผิงไฟกับปัญหาโรคท้อง ร่วงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมากถึงร้อยละ 30
นายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าว ถึงปัญหาสภาพอากาศ ซึ่งขณะนี้ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสภาพอากาศที่หนาวเย็นในช่วงกลางคืน โดยจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 13-15 องศา แต่ในยอดเขาภูพานช่วงกลางคืนจะมีอากาศหนาวจัดและมีประชาชนออกมานั่งผิงไฟไล่ ความหนาวเย็นเพิ่มขึ้น ซึ่งการผิงไฟถึงแม้จะสามารถแก้หนาวได้แต่ก็เสี่ยงที่ จะป่วยเป็นโรคไหม้ เพราะสภาพอากาศแห้งจะทำให้ผิวหนังแห้งกร้านจนเกิดสะกดและทำให้เจ็บตามผิว หนังเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปไม่ควรผิงไฟเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ มีรายงานจากโรงพยาบาลชุมชน 13 แห่ง และโรงพยาบาลประจำตำบลในจังหวัด พบว่า มีประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคท้องร่วง ทั้งนี้เนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่ระวัง ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในอาหาร
ล่าสุดมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาลเฉลี่ยถึงวันละ 80 ราย เฉพาะในช่วงต้นปีถึงปัจจุบันมีกว่า 560 ราย สาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่บรรจุถุงพลาสติกร้อยละ 30
นายแพทย์สาธารณสุขยังระบุว่า สภาพอากาศที่หนาวจะไม่ทำให้อาหารสดใหม่เสมอ แต่จะเกิดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง ดังนั้นในระยะนี้ไม่ว่าจะดื่มน้ำก็ควรเป็นน้ำที่สะอาดกับการรับประทานอาหาร ที่ปรุงสุกใหม่ โดยเฉพาะแนวทางการกินร้อน ช้อนกลาง รับประทานอาหารที่ต้องล้างมือ ยังเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันโรคท้องร่วมได้


ที่มา : หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

“ความสุข ความรัก เห็นคุณค่า” ของขวัญวันเด็กที่เป็นจริงได้‏

“วันเด็ก วันเด็กวันนี้ เราแสนยินดี ยินดีปรีดา เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ทุกคนได้มาสนุกสนาน” เสียงเพลงวันเด็กดังกึกก้อง เป็นสัญญาณบอกว่าใกล้ถึงวันสำคัญอีกวันหนึ่ง ที่เยาวชนของชาติต่างเฝ้ารอคอย นั่นคือ “วันเด็กแห่งชาติ”  ซึ่งทุกๆ ปี หน่วยงานทั่วประเทศจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นของขวัญให้กับเด็ก นับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรัก ความสำคัญ ที่ผู้ใหญ่มอบให้กับเยาวชนที่เป็นอนาคตสำคัญของชาติ
สิ่งหนึ่งที่คู่กับงานวันเด็กแห่งชาติคือ ”คำขวัญวันเด็ก” ซึ่งทุกปี ผู้ใหญ่จะมอบคำขวัญ ที่เปรียบเสมือน คติข้อคิด แนวทางและความคาดหวังของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กตามแต่ละยุคสมัย ซึ่งนายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้ แสดงความคิดเห็นไว้ว่า คำขวัญวันเด็กนั้นมีมาตั้งแต่ ปี 2498 ซึ่งมีทั้งหมด 51 คำขวัญ หากวิเคราะห์ในแต่ละยุคสมัยก็จะเห็นว่า มีความแตกต่างไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเป็นสมัยก่อนในช่วงยุคอำนาจนิยม คำขวัญจะเน้นเรื่องความรักชาติ และหน้าที่ของเด็ก ก็จะมีวาทะกรรมที่เกี่ยวข้องคือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย
“หากนำคำขวัญที่เป็นเหมือนวาทะ กรรม และความคาดหวังที่มีต่อเด็กในแต่ละปี ให้เป็นของขวัญที่เป็นจริงและเป็นสิ่งที่เด็กอยากได้จากวันเด็กคือ “ความสุข ความรัก และการเห็นคุณค่า” หมอเดวบอก
นพ.สุริยเดว ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความรัก ความสุข และการเห็นคุณค่า ต้องเกิดจากพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ หากใส่กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพเด็กไปยัง 2 พื้นที่กิจกรรม ซึ่งทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กและครอบครัว รวมไปถึง ภายในชุมชน และโรงเรียนอีกด้วย นอกจากนี้การจัดตั้งให้มีฝ่ายงานด้านเด็กเยาวชนและครอบ ครัว ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เพียงเท่านี้ความฝันของเด็กเป็นจริงได้
นพ.สุริยเดว ยังเน้นย้ำเรื่องการดูแลเอาใจใส่เด็กอีกด้วยว่า สิ่ง ที่เป็นเหมือนหัวใจหลักในการดูแลเด็ก ในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเจนแซด หรือเจนต่อๆ ไป คือ ความรัก และสัมพันธภาพ โดยผู้ใหญ่ทุกคนต้องมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเด็ก ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ใช่เป็นผู้พูดที่เก่ง สามรถรับฟังปัญหาของเด็ก และเป็นเหมือนผู้ช่วย หรือเพื่อนคู่คิดที่ให้คำปรึกษา และคอยสนับสนุน เอาใจช่วยเด็กให้ทำในสิ่งที่ดีงาม
การเฝ้าระวังเด็กต้องเน้นทั้งด้านบวกและลบ ไม่ใช่การจับผิด แต่ต้องพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพเด็ก เปิดโอกาส แนะนำ และให้คำปรึกษา ไปพร้อมๆ กับการเฝ้าระวังการกระทำและพฤติกรรมเสี่ยงของเด็ก
“อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันคือ การส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเด็ก เพราะปัจจุบัน สื่อมีบทบาทและอิทธิพลต่อเด็กมากขึ้น ผู้ใหญ่เองควรให้ความรู้ คำแนะนำที่ถูกที่ควรให้กับเด็ก สำหรับการรับสื่ออย่างถูกต้องและสื่อเองควรสอดแทรกความรู้ให้เด็กมากกว่า ความบันเทิงเป็นหลัก” นพ.สุริยเดว กล่าวทิ้งท้าย


เรื่องโดย พิมพ์ชนก ศรเพชร Team Content www.thaihealth.or.th

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

คร.หวั่นโรคอุบัติใหม่แพร่ระบาด เร่งพัฒนาบุคลากรพร้อมรับมือ

กรมควบคุมโรคห่วง ไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก หวัดนก ปวดข้อยุงลาย กาฬหลังแอ่น โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคจากต่างประเทศ เสี่ยงแพร่ระบาดในประเทศไทย เดินหน้ายุทธศาสตร์การป้องกัน พร้อมเพิ่มศักยภาพบุคลากรเตรียมรับมือ
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ว่า การแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ในหลายประเทศทั่วโลกและประเทศไทยในอดีต ที่ผ่านมา มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและพฤติกรรมมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของตัวเชื้อโรค การใช้ยาไม่ถูกต้อง เกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ภัยธรรมชาติ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม รวมทั้งผลจากเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาของสัตว์นำโรคและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญ เป็นต้น
จากผลการประเมินความเสี่ยงโดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อการคาดการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่กลุ่ม เสี่ยงในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2553 พบว่าหน่วยงานด้านสาธารณสุขมีความกังวลต่อโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล โรคมือเท้าปาก โรคไข้หวัดนก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย โรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดเชื้อจากสเตรฟโตคอกคัสซูอิสและโรคโบทูลิซึม นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีอยู่ประปรายในพื้นที่ เช่น โรคลีเจียนแนร์ โรคเมลิออยโดสิส รวมทั้งโรคที่อาจแพร่มาจากต่างประเทศ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ โรคไข้เวสต์ไนล์ หรือโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ผลจากการประเมินข้างต้น ประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องมีศักยภาพ ระบบ และเครื่องมือในการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ตามแผนยุทธศาสตร์เตรียม ความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2556-2559) ในระยะเวลา 4 ปี ซึ่งมียุทธศาสตร์พัฒนาระบบจัดการความรู้ และส่งเสริมการวิจัยพัฒนาบรรจุเป็นยุทธศาสตร์หนึ่ง เพื่อให้ประเทศมีการจัดการความรู้เรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่ และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นระบบอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเรื่องโรคติดต่ออุบัติใหม่ ดังนั้น คร.โดยสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูความรู้และข้อมูลความก้าวหน้าเกี่ยวกับโรค ติดต่ออุบัติใหม่ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ทันสมัยกับ สถานการณ์ปัจจุบัน และพัฒนาระบบการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ของประเทศไทยแบบ บูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างเหมาะสม โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ และผู้รับผิดชอบงานจากหน่วยงานทั้งส่วนกลางและภูมิภาค รวมทั้งสิ้นประมาณ 200 คน โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปรึกษากรมการแพทย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค
 “นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่ : ความท้าทายใหม่บนโลกใบเก่า เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข สามารถปรับตัวและวิธีการรักษาเพื่อรับมือกับปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ สร้างความมั่นใจต่อระบบงานสาธารณสุขและดูแลประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวปิดท้าย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ