วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

 
ขอบคุณเจ้าของภาพ http://health.kapook.com/view63878.html

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2556

    จำนวนผู้ป่วยสะสม DHF+DF+DSS ณ วันที่ 2013-07-16 (สัปดาห์ที่ 28)
  • จำนวนผู้ป่วย73,902ราย
  • จำนวนผู้ป่วยตาย73ราย
  • อัตราป่วยต่อแสนประชากร 115.33
  • อัตราตายต่อแสนประชากร 0.11
  • อัตราป่วยตาย (ร้อยละ) 0.1

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สช.เตือน ร.ร.ในสังกัด หลังพบอาหาร-สินค้าอันตรายระบาด

สช. ทำหนังสือถึง ร.ร.เอกชนในสังกัดเรื่องที่มีผู้ขายของอันตรายบริเวณสถานศึกษา เน้นให้ตรวจสอบหลังพบสินค้าอาหารและสินค้าอันตรายขายหน้าโรงเรียนจำนวนมาก 
นายบัณฑิต ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ทำหนังสือถึงผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนเอกชนให้กวดขันการจำหน่ายสินค้าอันตรายบริเวณหน้าโรงเรียน หลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พบว่ามีการขายสินค้าบริเวณหน้าโรงเรียน ซึ่งเป็นสินค้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งห้ามขายได้เริ่มกลับมา ระบาดอีก เช่น ของเล่นชนิดพองตัวเมื่อแช่น้ำ หรือ ตัวดูดน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หากเด็กกินหรือกลืนเข้าไป ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ออกกฎหมายห้ามไม่ให้ขายของเล่นชนิดนี้แล้วตั้งแต่ปี 2527 แต่ยังมีผู้ลักลอบเข้ามาขายอยู่
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีลูกโป่งวิทยาศาสตร์ หรือ ลูกโป่งพลาสติก อุปกรณ์ไฟฟ้าช็อตสำหรับแกล้งคน และสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น ของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมกำหนด ไม่มีฉลากคำเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งอาหารทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำ ลูกชิ้น ไส้กรอก และขนมที่มีสีสันสวยงาม ซึ่งอาจใส่สีสังเคราะห์ที่ไม่เหมาะสม
เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กล่าวต่อว่า สช.พิจารณาแล้วเห็นว่า ควรป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนได้รับอันตรายจากของเล่นที่ไม่ได้มาตรฐานเหล่า นี้ และการบริโภคอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ หรือขนม จึงขอความร่วมมือผู้บริหาร อาจารย์ร.ร.เอกชนช่วยรณรงค์ดูแลการขายสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็ก บริเวณรอบร.ร. เชื่อว่าหากให้ร.ร.เข้ามาร่วมดูแลแจ้งเบาะแส จะเป็นช่องทางช่วยควบคุมไม่ให้ของเล่นอันตรายแพร่ระบาดได้


ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ลิ้งค์ http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35480

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิจัยพบนักศึกษาไทยนิยมเสพ ‘เว็บโป๊’ ผ่านสมาร์ทโฟน

วิจัยพบนักศึกษาไทยนิยมเสพเว็บโป๊ บนสมาร์ทโฟน ผ่านโซเชียลมีเดีย อย่าง ยูทูป เฟซบุ๊ก ฯลฯ พบกลุ่มตัวอย่างบางส่วนเคยประกาศหาคู่ทางอินเทอร์เน็ต ...
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ที่โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพฯ มีการประชุม วิชาการทางวัฒนธรรมระดับนานาชาติ จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้มีการเปิดเผยข้อมูลงานวิจัยทางวัฒนธรรมจำนวน 12 เรื่องที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สวธ. โดยหนึ่งในจำนวนนั้น มีผลงานวิจัย ของ ผศ.ดร.ศิริพร เสริตานนท์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น เรื่องผลของการเปิดรับสื่ออนาจารต่อพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัย และแนวทางแก้ไขป้องกันปัญหาการเปิดรับสื่ออนาจาร ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก
ผศ.ดร.ศิริพร เปิดเผยว่า ตนเห็นว่า ปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น มีแนวโน้มเฉลี่ยอายุลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเห็นได้จากข่าวสารทุกวันนี้ มีเด็กทำแท้งมากขึ้นและเฉลี่ยอายุลดลง โดยสาเหตุหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ก็มาจากการรับสื่ออนาจารต่าง จึงได้ทำการวิจัยในหัวข้อดังกล่าว ตั้งเดือนมกราคม-มีนาคม 2555 จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ตั้งแต่ระดับชั้นปีที่ 1-4 มีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.51-3.00 จำนวน 600 คน แบ่งเป็นชาย 298 คน หญิง 302 คน พบว่า นักศึกษาเปิดรับสื่ออนาจารบนสมาร์ทโฟนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในโซเชียลมีเดีย อาทิ ยูทูป เฟซบุ๊ก มากถึงร้อยละ 80 โดยกลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะรู้จักเว็บไซต์อนาจาร 1-3 เว็บ โดยจะเน้นดูที่หอพัก และบ้านเพื่อน
ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวอีกว่า สำหรับช่วงอายุในการเปิดรับสื่ออนาจาร พบว่า นักศึกษาชายเริ่มรู้จักและสัมผัสสื่อเมื่อช่วงอายุ 10-13 ปี ส่วนนักศึกษาหญิงช่วงอายุ 14-16 ปี ที่สำคัญกลุ่มตัวอย่างบางส่วนยังระบุว่า เคยประกาศหาคู่ทางอินเทอร์เน็ต ขณะที่ วัตถุประสงค์ของการรับสื่ออนาจาร 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.เพื่อความบันเทิง 2.เพื่อผ่อนคลายความเครียด และ 3.เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็น โดยเฉพาะศึกษาความรู้เรื่องเพศ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสาขาวิชา พบว่า กลุ่มนักศึกษาวิชามนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์ เปิดรับสื่ออนาจารเพื่อความบันเทิง อยากรู้อยากเห็น ส่วนกลุ่มนักศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ แพทย์ เน้นบันเทิง หาความรู้เรื่องเพศ เป็นต้น
“ผล การประมวลสัดส่วนการเกิดพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เคยเปิด รับสื่ออนาจารในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออนาจารสูงสุด แต่ปฏิเสธการรับสื่ออนาจารเมื่อเพื่อนชักชวน รองลงมา คือ พฤติกรรมชอบเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนต่างเพศ พฤติกรรมหมกมุ่นทางเพศและเคยซื้อบริการทางเพศ ที่สำคัญยังพบว่า กลุ่มตัวอย่าง เคยมีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ชายกับชาย ร้อยละ 55 และหญิงกับหญิง ร้อยละ 66 นอกจากนี้ ยังพบพฤติกรรมทางเพศที่น่าสนใจที่เกี่ยวเนื่องกับการรับสื่ออนาจาร 3 ลำดับ ได้แก่ 1.เคยขายบริการทางเพศ 2.มั่นใจในความเป็นชายจริงหญิงแท้ และ 3.ควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางเพศได้ดีอีกด้วย ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง กลุ่มเรียนดี ระดับหัวกะทิ อาทิ นักศึกษาคณะแพทย์ และวิทยาศาสตร์ เป็นกลุ่มบริโภคสื่ออนาจารนี้เช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สื่ออนาจารมีผลต่อนักศึกษาทุกกลุ่ม” ผศ.ดร.ศิริพร กล่าว
ผศ.ดร.ศิริพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวทางการป้องกันนั้น กลุ่มอาจารย์เห็นว่า รัฐบาลต้องปรับปรุงกฎหมายและบทลงโทษการประกอบธุรกิจสื่ออนาจารบนอิน เทอร์เน็ต รวมทั้งสถาบันการศึกษาควรมีการสอดแทรกเนื้อหาการเรียนที่สอนให้นักศึกษา รู้จักเลือกรับสื่อที่เหมาะสมในรายวิชาต่างๆ กลุ่มผู้ปกครอง เห็นว่า ควรจะมีการพัฒนาความรู้ของผู้ปกครองให้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเข้าถึงชุมชนออ นไลน์ได้ เพื่อสามารถตรวจสอบติดตามการใช้อินเทอร์เน็ตของบุตรหลานได้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องและโดนใจบุตรหลาน รวมทั้งสามารถพูดคุยถึงผลกระทบการใช้สื่ออนาจารกับบุตรหลานอย่างเปิดเผย ส่วนกลุ่มนักศึกษาผู้ที่เข้าถึงสื่ออนาจารโดยตรง เสนอแนวคิดไว้ว่า สื่อลามกอนาจารมีผลกระทบต่อจิตใจ ร่างกาย การป้องกันที่ได้ผลที่สุด คือ การฝึกควบคุมจิตใจตนเอง รู้จักใช้เหตุผลในการเลือกรับสื่อ รู้เท่าทันสื่อ แต่คงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต และทำให้หายไปได้ ดังนั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบุคคลในการเลือกบริโภคสื่ออย่างชาญฉลาด โดยใช้สติ รู้คิด วิเคราะห์ และพอเหมาะพอดี


ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
link http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/35516