วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รู้ให้ทันโฆษณาชวนเชื่อ “บารากู่ไฟฟ้า”

บารากู่ไฟฟ้า’ สินค้าแปลกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น และมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมด้วยโฆษณาชวนเชื่อว่ามีไม่มีพิษภัย และลองได้ไม่เสพติด  
/data/content/24463/cms/e_bfgiklpqrwx6.jpg
          ข้อเท็จจริงจาก "สำนักงานควบคุมการบริโภคยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข" หลังจากส่งตัวอย่างบารากู่ไฟฟ้าเพื่อทำการตรวจวิเคราะห์พบว่ามีสารเคมีหลายชนิด เช่น Propylene Glycol Methyl Cyclohexanol Triacetin และยังตรวจพบส่วนประกอบของสารพิษที่เป็นโลหะหนัก ได้แก่ Manganese, Copper, Zinc, Mercury และสารก่อมะเร็ง ได้แก่ Chromium, Arsenic, Cadmium และตะกั่ว
          ขณะที่ "มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" ก็ได้สรุปข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ “บารากู่ไฟฟ้า” ว่าเป็นชื่อเรียกอุปกรณ์เลียนแบบการสูบบุหรี่ชนิดใหม่ มีลักษณะเป็นแท่งยาว 11 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 9.5 มิลลิเมตร เปรียบเทียบกับมวนบุหรี่ธรรมดาที่มีความยาว 8.7 เซนติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร
          ที่พบขายกันในตลาดขณะนี้มี 2 แบบ คือ แบบหนึ่ง สามารถชาร์จไฟแบตเตอรี่ใหม่ได้ เมื่อใช้หมด และตลับน้ำยาก็เติมใหม่ได้ อีกชนิดหนึ่งเป็นแท่งที่มีแบตเตอรี่และน้ำยาที่ใช้หมดแล้วทิ้งเลย ที่สำคัญบนกล่องบารากู่ไฟฟ้ายี่ห้อหนึ่งพิมพ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษว่าไม่มีนิโคติน ไม่มีทาร์ ไม่มีคาร์บอนมอนอกไซด์
/data/content/24463/cms/e_befklmsuw689.jpg
         ปลอกแท่งบารากู่ไฟฟ้า เป็นโลหะบาง ภายในจะมีท่อพลาสติกขนาดเล็กที่ต่อกับแบตเตอรี่ และมีแผ่นใยสังเคราะห์ชุบน้ำยาที่ปรุงแต่งเป็นกลิ่นผลไม้ จากการทดลองแกะแท่งบารากู่ไฟฟ้าแล้วแยกส่วนประกอบพบว่า น้ำยาที่ทำให้เกิดกลิ่นผลไม้นั้น มีกลิ่นฉุนติดนิ้วมือและล้างออกยากมาก กลิ่นติดมือข้ามคืน จึงอนุมานได้ว่า สารเคมีที่เป็นไอน้ำจากการสูบบารากู่ไฟฟ้าจะตกค้างอยู่ในปอดของผู้สูบเป็นอันตรายต่อปอดอย่างแน่นอนในผู้ที่ใช้ติดต่อกัน
/data/content/24463/cms/e_abefjlqt2689.jpg
          บารากู่ไฟฟ้ากับบารากู่ธรรมดาต่างกันอย่างไร?
          บารากู่ธรรมดา คือการสูบควันจากยาเส้นหมักกับกากผลไม้และน้ำตาล ใช้อุปกรณ์ที่มีรูปลักษณ์คล้ายแจกัน
          บารากู่ไฟฟ้า สูบควันจากน้ำยาที่ประกอบด้วยสารเคมีสังเคราะห์ เพื่อให้กลิ่นผลไม้ชนิดต่างๆ สูบด้วยแท่งโลหะที่มีแบตเตอรี่บรรจุอยู่ภายใน
          ทั้งบารากู่ธรรมและบารากู่ไฟฟ้ามีการอ้างว่าไม่มีสารนิโคติน ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะถ้าหากบารากู่ไฟฟ้าไม่มีการผสมสารนิโคตินตลอดไป การสูบบารากู่ไฟฟ้าก็น่าจะเป็นเพียงแฟชั่นชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ผลิตบารากู่ไฟฟ้าจะเติมสารนิโคตินในบารากู่ไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเสพติด
          ดังนั้นการสูบบุหรี่ธรรมดา การสูบบารากู่ หรือการสูบบารากู่ไฟฟ้า ก็เป็นวิธีการหนึ่งในการนำสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายนั่นเอง
          "รู้แบบนี้แล้วยังจะอยากสูบเอาสิ่งเหล่านั้นเข้าไปในร่างกายอยู่หรือไม่?"


          เรื่องโดย : ภาวิณี เทพคำราม Team Content www.thaihealth.or.th