ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น


ขอเชิญท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องอนามัยการเจริญพันธ์

ตามลิ้งค์นี้ครับ https://www.surveycan.com/survey147470


วีดิโอเพศศึกษาในวัยเรียน


รับมือวัยรุ่นเครียดช่วงสอบแอดมิชชั่น

โดย รชานนท์  เผยแพร่ 10 มีนาคม 2558
รับมือวัยรุ่นเครียดช่วงสอบแอดมิชชั่น thaihealth
ในปัจจุบันการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า “แอดมิชชั่น”มีการแข่งขันกันรุนแรง ส่งผลทำให้เด็กวัยรุ่นประสบกับภาวะวิตกกังวล จนกลายเป็นความตึงเครียดทั้งทางจิตใจและร่างกาย บางรายเครียดจัดถึงขนาดเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ บอกว่า การสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้น เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งผู้ที่พลาดหวังก็ยังมีสถาบันการศึกษาอื่น ให้เลือกเรียนอีกมากมาย และอนาคตของเราไม่ได้วัดกันที่เรื่องนี้แค่อย่างเดียว ดังนั้นขอให้คิดเสียว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ไม่ใช่ชีวิตต้องล้มเหลว  โดยขอให้มองตัวอย่างจากผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม หลายคนก็ไม่ได้เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ แต่บุคคลเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จในชีวิตได้เช่นกัน
รับมือวัยรุ่นเครียดช่วงสอบแอดมิชชั่น thaihealth
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น บอกต่อว่า เด็กวัยรุ่นบางคนที่พ่อแม่คาดหวังไว้มาก ก็ยิ่งจะทำให้ลูกรู้สึกกดดันอย่างรุนแรง เมื่อหาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ มักจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการผิดๆ ดังนั้นพ่อแม่จึงมีบทบาทสำคัญ ที่จะช่วยลดความเครียดให้ลูกได้ โดยต้องลดระดับความคาดหวังของตัวเองลง เนื่องจากเด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่จะรู้สึกกดดันมากขึ้น เมื่อต้องแบกรับความหวังของพ่อแม่ที่ตั้งไว้สูงเกินไป
พญ.วิมลรัตน์ บอกถึงแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีลูกหลานผิดหวัง จากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยว่า พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องทำใจก่อน เพราะต้องเป็นที่พึ่งให้กับลูกได้ตั้งหลัก และควรปลอบใจด้วยการพูดว่า ไม่เป็นอะไรทำดีที่สุดแล้ว จากนั้นค่อยมาคิดกันว่า จะวางแผนต่อไปอย่างไร ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงอยู่ที่พ่อแม่และคนรอบข้าง ที่ต้องคอยประคับประคองช่วงที่เสียใจ ควรให้กำลังใจ เข้าอกเข้าใจ อย่าซ้ำเติม หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เพื่อไม่ให้เด็กเครียด และสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้
รับมือวัยรุ่นเครียดช่วงสอบแอดมิชชั่น thaihealth
พญ.วิมลรัตน์ บอกอีกว่า โดยปกติแล้วเด็กวัยรุ่นจะสามารถปรับตัวได้ ภายหลังเกิดความผิดหวังเสียใจ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ แต่อาจมีบางกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น คนที่ตั้งความหวังไว้มาก ซึ่งต้องคอยสังเกตอาการที่เปลี่ยนไป เช่น เก็บตัว ไม่กินไม่นอน มักพูดตัดพ้อชีวิต หรือมีอาการซึมเศร้าติดต่อกันหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ เพราะอาจกำลังคิดทำร้ายตัวเองได้
นอกจากนี้ พญ.วิมลรัตน์ ยังแนะนำวิธีจัดการความเครียดว่า ช่วงที่เครียดมากๆ อาจฝึกผ่อนคลายโดยการหลับตา หยุดคิดเรื่องที่กังวลอยู่ และมีสมาธิอยู่กับการกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหัวได้ หรือถ้าเกิดความเครียดมากๆ ก็ควรหาทางระบายออกด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ชื่นชอบ เช่น ออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เป็นต้น  พญ.วิมลรัตน์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า ความเครียดของวัยรุ่นถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องช่วยเหลือ อย่าปล่อยปละละเลย และหากพบว่ามีอาการซึมเศร้าผิดปกติ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด

เรื่องโดย : นายฉัตร์ชัย นกดี Team Content www.thaihealth.or.th

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต



ภาพกิจกรรมโครงการพี่สอนน้องไม่ท้องก่อนวัย

สร้างภูมิคุ้มกันชีวิต ปีงบประมาณ 56 ครับ





 ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลเพ็ญเปิดบริการคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่น

เชิญรับบริการดังนี้

1.ถุงยางอนามัย.....ฟรี

2.ปรึกษาปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม/โรคทางเพศสัมพันธ์

3.ขอรับสื่อแผ่นพับ vcd เพศศึกษา ฟรี

4.ปรึกษาปัญหาอื่นๆ

ช่องทางในการขอรับบริการ/คำปรึกษา 

1.โทร 089-9800419..............24 ชั่วโมง

2.โพสคำถามเข้ามาทาง  http://pcuphen.blogspot.com/  มีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบตอบปัญหาของท่าน

3.หรือส่งเมล์มาที่ Docter_dance@hotmail.com  

 


วัยรุ่นไทยมีเซ็กซ์ครั้งแรกอายุ 15 ปี เมินถุง-ท้องก่อนวัย-ติดโรคทางเพศพุ่ง




สธ. พบหญิงไทยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 15-16 ปี ก่อให้เกิดปัญหาท้องก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีการป้องกันและเสี่ยงต่อโรคทางเพศสัมพันธ์สูง
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ สัมภาษณ์เกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาคุณภาพประชากรไทยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพประชากรไทยทุกกลุ่มอายุ ซึ่งปัจจุบันไทยประสบปัญหาทั้งด้านจำนวนและคุณภาพประชากร โดยโครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากประสบผลสำเร็จในการวางแผนครอบ ครัวตั้งแต่ พ.ศ. 2513 ทำให้อัตราการเพิ่มของประชากรลดลง ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2553 มีเพียงร้อยละ 0.5 หญิง ไทยมีบุตรโดยเฉลี่ย 1.5 คน ซึ่งต่ำกว่าอัตราทดแทนคือพ่อแม่รวม 2 คน ทำให้ประชากรวัยแรงงานมีจำนวนน้อยลง ในอนาคตอาจจะต้องนำเข้าแรงงานที่มีคุณภาพจากต่างประเทศมาทดแทน ในขณะเดียวกันประชากรสูงอายุกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นและก้าวสู่สังคมของผู้สูง อายุ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 12 ของ ประชากรทั้งประเทศ
ประการสำคัญยังมีปัญหาคุณภาพวัยรุ่นที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตจากพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศที่ไม่ได้ป้องกัน เนื่องจากวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยลงเรื่อยๆ จากอายุ 18-19 ปี เมื่อ พ.ศ. 2539 เป็นอายุ 15-16 ปี เมื่อ พ.ศ. 2552 อัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เพิ่มจาก 50.3 เมื่อ พ.ศ. 2548 เป็น 54.9 ต่อกลุ่มหญิงอายุ 15-19 ปี ทุกๆ 1,000 คน เมื่อปี 2554
วัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกใช้ถุงยางอนามัยไม่ถึงร้อยละ 40 ทำให้อัตราป่วยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเยาวชนอายุ 15-24 ปี สูงขึ้นจาก 23.5 เมื่อ พ.ศ. 2545 เป็น 79.8 ต่อประชากรวัยนี้ทุก 100,000 คน เมื่อ พ.ศ. 2553 ต้นเหตุปัญหามาจากการขาดความรู้ เช่น ความเข้าใจผิดคิดว่าร่วมเพศครั้งเดียวไม่ตั้งครรภ์ การใช้ถุงยางอนามัยขัดขวางความรู้สึกทางเพศ เป็นต้น


เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” หวังคนเข้าถึงบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ มากขึ้น

PDF Print E-mail
  กรม ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เปิดศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” วันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ณ ที่ทำการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน
    นายวิทยา บุรณศิริ กล่าวว่า การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” นี้ นับว่าเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนที่รัฐบาลเห็นความสำคัญและจัด บริการให้เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ เพราะเมื่อประชาชนเข้าถึงบริการปรึกษาและได้รับการรักษาโดยเร็วก็จะช่วยให้ เกิดการป้องกันซึ่งจะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่  
ในขณะเดียวกันผู้ที่ติดเชื้อแล้วก็จะเข้าถึงบริการรักษาได้อย่างทันท่วงที ไม่เจ็บป่วย ไม่เสียชีวิต
ดัง นั้น ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์”จึงถือเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึง บริการตรวจรักษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์ได้เร็วขึ้น  อย่างไรก็ตาม ในการคลี่คลายปัญหาเอดส์ให้ลุล่วงและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน หน่วยบริการต่างๆ ทั้งในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุขจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องประสานความร่วมมือ รับช่วงต่อจากศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ในการให้บริการประชาชน และพัฒนาระบบการรับและส่งต่อผู้รับบริการที่ได้รับการปรึกษาจากศูนย์ 1663 แล้วให้มีความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงการตรวจรักษา รวมถึงพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรู้ ความเข้าใจ ให้บริการด้วยความเป็นมิตรและรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้รับบริการเพื่อให้ ประชาชนเข้าถึงบริการด้วยความสะดวกรวดเร็วและสบายใจ

     นาย แพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” เกิดขึ้นจากแนวคิดและความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงคนทำงานด้านเอดส์ ที่ต้องการให้ประชาชนข้าถึงบริการปรึกษาเรื่องเอชไอวี/เอดส์เพื่อลดปัญหาดัง กล่าวในระดับประเทศ ทั้งนี้ สถานการณ์เรื่องเอดส์ในประเทศไทยพบว่า ไทยมีผู้ติดเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ราว 500,000 ราย แต่มีเพียง 2 แสนรายเท่านั้นที่เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ในขณะที่อีก 3 แสนรายที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการรักษานั้นมีทั้งกลุ่มคนที่ไม่ทราบว่าตัวเองมี ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มคนที่อาจจะประเมินได้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงแต่ไม่กล้าไปรับบริการ ปรึกษาและตรวจเลือดที่หน่วยบริการ และกลุ่มคนที่อาจจะทราบผลเลือดของตัวเองแล้วแต่ไม่มีข้อมูลเรื่องการดูแล รักษา ดังนั้น การมีศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” จึงจะช่วยให้ประชาชนทั้งสามกลุ่มมีทางออกในการจัดการปัญหาและวางแผนดูแล สุขภาพของตัวเองได้ไม่ว่าจะติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก็ตาม
       ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ประพันธ์ ภานุภาค ประธานกรรมการศูนย์ “1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์” ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศูนย์ “1663” เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่ 10.00 -20.00 น.เป็นบริการไม่ถามชื่อ และเมื่อผู้รับบริการได้รับการปรึกษาและมีความประสงค์จะตรวจเลือดเพื่อหาการ ติดเชื้อเอชไอวีก็สามารถนำรหัสที่ได้จากศูนย์ 1663  ไปรับบริการยังหน่วยบริการได้โดยที่หน่วยบริการจะประเมินความพร้อม เบื้องต้นต่อจากที่ศูนย์ 1663  อีกครั้ง ซึ่งในอนาคตทางศูนย์จะประสาน ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการปรึกษาเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้รับ บริการและเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการซึ่งทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการเรื่องการ ตรวจรักษาเอชไอวี/เอดส์มากขึ้น


สายด่วนให้คำปรึกษาปัญหาวัยรุ่น
สายด่วน 1663
ห้องให้คำปรึกษาโรงพยาบาลเพ็ญ 0894216342
การดำเนินงานคลินิกเพื่อนใจวัยรุ่นศูนย์สุขภาพชุมชนเพ็ญ



  
ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชน ม.3 บ.นาส่อนครับ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น