วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

‘กินอยู่’ ให้ฉลาดบนโลกวิถีสะดวก

ปัญหาสุขภาวะในครอบครัวไทยมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากพ่อแม่ ผู้ปกครองที่ไม่ค่อยมีเวลาทำกิจกรรมทางกาย รวมไปถึงการใส่ใจดูแลเรื่องอาหารการกินของสมาชิกในครอบครัวมากนัก
/data/content/24640/cms/e_acejklnqsy19.jpg
          นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เกิด กิจกรรม "Healthy Family Camp ค่ายครอบครัวสุขภาพดี" โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. ร่วมกับ รายการ วาไรตี้ ทูเดย์ บาย สายสวรรค์ ขยันยิ่ง คัดเลือกครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านสุขภาวะมาเข้าค่ายและให้ความรู้เพื่อการส่งเสริมทุกคนในครอบครัวได้หันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งการใช้ชีวิตประจำวันโดยให้ความสำคัญกับสุขภาวะทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ ปัญญา และสังคม
          อ.สง่า ดามาพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ และผู้จัดการโครงการโภชนาการสมวัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยกตัวอย่างให้เห็นว่า ปัญหาสุขภาวะที่ชัดเจนที่สุดในตอนนี้คือ การกินอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการปล่อยปละละเลย ให้เด็กไม่ได้กินอาหารเช้า ให้เด็กกินขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ขนมหวาน น้ำหวาน เป็นต้น แต่ไม่พยายามปลูกฝังให้กินผัก ผลไม้
/data/content/24640/cms/e_bcdgijnoqtu3.jpg/data/content/24640/cms/e_eglmnopty234.jpg
          ที่สำคัญคือไม่มีเวลาออกกำลังกายและทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เด็กส่วนใหญ่ก็จะเครียดกับการเรียน และเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาวะในครอบครัวขึ้นมา
          อาจารย์สง่าบอกอีกว่า หัวใจของการเข้าแคมป์โดยเอาครอบครัวมาทำกิจกรรมแบบนี้ หวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากที่ไม่ดีให้กลายเป็นดีขึ้น รวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าอยากให้ลูกกินผลไม้มาก ๆ ต้องเอาของไม่ดี เช่น น้ำอัดลม ขนมหวานออกจากตู้เย็น แล้วเอาของผลไม้ ขนมไทยหวานน้อย ใส่แทนเข้าไป ตลอดจนวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ให้พ่อแม่เจียดเวลา พาลูกไปออกกำลังกายในสวนสาธารณะบ้าง เช่น เดินเล่น ปั่นจักรยาน เล่นกีฬาที่เขาชอบ
/data/content/24640/cms/e_cglnpuvz1348.jpg          หนึ่งในนั้นมีครอบครัวของ น้องภูผา หรือเด็กชายณัฐพัฒน์ วิศรุตการย์ อายุ 6 ขวบ ที่คุณพ่อภีร์ ณภัทร วิศรุตการย์เล่าให้ฟังว่า น้องภูผาเป็นเด็กที่ไม่กินผักเลย นั่นเป็นเพราะว่าคุณพ่อไม่ได้สอนให้น้องกินผักผลไม้ตั้งแต่เด็ก จนพอโตขึ้นต้องให้คุณย่าช่วยโดยจะใช้วิธีสับผักให้ละเอียดและแอบใส่ในไข่เจียวเมนูโปรดของน้อง ก็ช่วยได้บ้างเล็กน้อย
          "นอกจากนี้น้องภูผายังเป็นเด็กที่ซนมาก กังวลว่าจะเข้ากับเพื่อนไม่ได้ และกลัวจะเป็นเด็กสมาธิสั้น จึงพยายามหากิจกรรมให้เขาได้มาเจอสังคมใหม่ ๆ เพื่อเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้อยู่กับเพื่อน ๆ การมาเข้าค่ายครั้งนี้ก็ทำให้เรารู้ว่าต้องให้เวลากับลูกมากขึ้น โดยเฉพาะการพาออกไปทำกิจกรรมร่วมกัน สำหรับพ่อแม่บางคนที่คิดว่าตัวเองไม่มีเวลานั้น ผมว่ามันอยู่ที่ตัวเรามากกว่าว่าจะให้ความสำคัญกับตรงนั้นยังไง เพราะสุดท้ายอะไรก็ไม่สำคัญเท่าครอบครัวครับ" คุณพ่อภีร์เล่า
/data/content/24640/cms/e_aefklmn12347.jpg          อีกหนึ่งครอบครัวของ คุณแม่แอน พวรลักษณ์ - คุณพ่อเอ๋ กิตติศักดิ์ และน้องพาวด์ พัชรินทร์ - น้องแพซ ศิริทัณฑ์ คำสีแดง โดยคุณแม่แอนเล่าถึงปัญหาสุขภาวะในครอบครัวว่า ตนและสามีต้องเดินทางไปค้าขายในต่างจังหวัดทีละหลาย ๆ วัน ส่วนใหญ่ก็กินอาหารผัด ๆ ทอด ๆ เพราะเอาสะดวก และไม่ค่อยกินผักผลไม้ จนรู้ว่า น้ำหนักเกิน มีอาการปวดเมื่อย สุขภาพไม่ค่อยดี ส่วนเด็ก ๆ อยู่กับคุณย่าที่บ้านก็จะทำกับข้าวตามใจ
          "ก่อนหน้านี้ก็ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ค้นหาในอินเทอร์เน็ตบ้าง แต่ก็ทำตามที่แนะนำยาก เพราะบางทีเราก็เลือกไม่ได้ หลังจากมาเข้าค่ายก็ได้รับความรู้ที่จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างง่ายๆ เช่น ลดอาหารรสจัดลง ลดอาหารที่มีน้ำตาลไขมันสูง และต้องเพิ่มพฤติกรรมการออกกำลังกายซึ่งก็ได้เรียนรู้ว่ามีท่าง่าย ๆ เช่น การแกว่งแขน การใช้ไม้พลอง หรือใช้การเดิน วิ่ง ไม่ต้องมีอุปกรณ์ และยังมีท่าบริหารระหว่างทำงานด้วย ส่วนของเด็ก ๆ คือ เราได้เรียนรู้วิธีดัดแปลงเมนูให้เขาทานผักผลไม้ง่ายขึ้น อีกอย่างพอเขาทราบว่าผักมีประโยชน์ยังไงเขาก็จะพยายามกินผักมากขึ้น"
          แค่เลือกกินดีมีประโยชน์ก็ทำให้ครอบครัวอบอุ่นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น