วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

หวานซ่าดับร้อน ชวนก่อโรค

ในสถานการณ์ความร้อนระอุของประเทศไทยที่พุ่งสูงช่วงนี้ หลายคนมองหาวิธีดับร้อนและหนึ่งวิธีที่เลือกใช้ก็คือ น้ำอัดลม หรือน้ำหวานชนิดต่างๆ แต่สิ่งเหล่านี้ถ้าดื่มประจำจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยน้ำตาลเป็นอาหารที่ให้แต่พลังงานว่างเปล่า คือให้พลังงานแต่ไม่ให้สารอาหารอื่นๆ เลย

หวานซ่าดับร้อน ชวนก่อโรค thaihealth

ทำไมหน้าร้อนเราจึงหิวน้ำบ่อย
เพราะ น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเลือด น้ำย่อย ปกติร่างกายเราจะสูญเสียน้ำประมาณ 10 ถ้วย หรือ2.5 ลิตรทางเหงื่อ ลมหายใจและการขับถ่าย นอกจากน้ำแล้วร่างกายยังเสียเกลือแร่อีกด้วย โดยในฤดูร้อนการสูญเสียน้ำทางเหงื่อจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้ร่างกายต้องการน้ำเพื่อทดแทนสิ่งที่เสียไปมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเครื่องดื่มที่ดีและเหมาะสมกับร่างกาย คือ น้ำเปล่า เพราะในน้ำเปล่า มีส่วนช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยชะลอความแก่ เพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิว ช่วยให้ระบบย่อยในกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น ช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ไตแข็งแรง โดย 1 วันควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
หวานซ่าดับร้อน ชวนก่อโรค thaihealth
มีการสำรวจพบว่า คนไทยรับประทานน้ำตาลสูงมากเฉลี่ยถึงปีละ 30 กิโลกรัมต่อคน หรือวันละ 20 ช้อนชา ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำกว่า 3 เท่าตัว ทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้น ในกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปพบถึง 1 ใน 10 หรือ 5.5 ล้านคน ทำให้ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลนั้น อยู่ที่การบริโภคไม่เกิน 37.5 กรัมต่อวันหรือ 9 ช้อนชาในเพศชาย และไม่เกิน25 กรัม หรือ 6 ช้อนชาในเพศหญิง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้พลังงานในแต่ละวันด้วย ขณะที่คนไทยมี ค่าเฉลี่ยมาตรฐานอยู่ที่ประมาณ 20 ช้อนชาต่อวัน หรือเกือบ 80-100 กรัม
รู้จักกับ 4 เรื่องที่น่ากลัวของเครื่องดื่มหวานซ่า
1.น้ำหวานที่นำมาอัดลม หรือน้ำหวานทั่วไปในท้องตลาด มีส่วนผสมของสีและรสชาติเทียมที่มาจากสารเคมี เมื่อบริโภคต่อเนื่องจะสามารถทำให้ก่อพิษในร่างกายได้
2.คาเฟอีนในน้ำอัดลม เป็นสารกระตุ้นประสาททำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว และลดความง่วงลง โดยออกฤทธิ์กับระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้จังหวะและอัตราการเต้นของหัวอาจผิดปกติได้
หวานซ่าดับร้อน ชวนก่อโรค thaihealth
3.น้ำอัดลมทุกสูตรล้วนแต่ผสมน้ำตาลในปริมาณสูงตั้งแต่ 8-14 ช้อนชา การบริโภคน้ำอัดลมเพียงวันละ 1 กระป๋องจึงทำให้ร่างกายได้รับปริมาณน้ำตาลเกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ
4.น้ำอัดลม มีส่วนผสมของกรดฟอสฟอริก เป็นกรดที่ทำให้เกิดความซ่าอีกชนิดนึง ไม่น่าเชื่อว่ากรดนี้เป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในผงซักฟอก รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมโลหะด้วย ซึ่งมีความเป็นกรดสูงมาก มากขนาดที่สามารถละลายตะปูได้ภายใน 4 วัน เท่านั้นยังไม่พอยังไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกและฟัน เพราะฉะนั้นกินเยอะๆ กระดูกของเราพรุนแน่ๆ
ล่าสุดประเทศไทยได้มีการนำเสนอให้จัดเก็บภาษีในเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินมาตรฐานที่กำหนด โดยเสนอให้จัดเก็บภาษี 2 อัตรา ตามความเข้มข้นของน้ำตาลคือ ปริมาณน้ำตาลมากกว่า 6-10 กรัม ถึง 100 มิลลิลิตร จัดเก็บภาษีในอัตราที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 20% ของราคาขายปลีก และปริมาณน้ำตาลมากกว่า 10 กรัม ถึง 100 มิลลิลิตร จัดเก็บภาษีในอัตราที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 25% ของราคาขายปลีก แน่นอนว่าจุดประสงค์ของการขึ้นภาษี คงมองได้หลายแง่ ในด้านหนึ่งก็เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานลง ก็อาจจะเป็นส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ นอกจากเรื่องของการขึ้นภาษี ก็ยังมีการเสนอให้กระทรวงมหาดไทยควบคุมการทำการตลาดแบบเสี่ยงโชคของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพื่อควบคุมการกระตุ้นการบริโภคควบคู่ไปด้วย
ประเทศอังกฤษ ็หนึ่งในตัวอย่างการดำเนินงานเรื่องภาษีน้ำตาลในเครื่องดื่ม
หวานซ่าดับร้อน ชวนก่อโรค thaihealthอังกฤษได้ดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อควบคุมความอ้วนของเด็ก ด้วยการเก็บภาษีบริษัทที่ขายน้ำหวานอัดลมและลงทุนในโครงการที่ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกาย รวมถึงเรียกร้องบริษัทผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่มให้รีบดำเนินการลดน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเด็กอายุระหว่าง 2 - 15 ปีในอังกฤษ เกือบ 1 ใน 3  เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
โดยแผนการของอังกฤษจะจัดเก็บภาษีต่อเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเกิน 5 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งการจัดเก็บภาษีน้ำอัดลมทำให้อังกฤษได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่เก็บภาษีน้ำอัดลมร่วมกับ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส  ฮังการี และเม็กซิโก ที่กำหนดการเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาล เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่มีการเก็บภาษีน้ำอัดลมมาเป็นเวลาหลายปี
ที่มาลิงค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น