“วันเด็ก วันเด็กวันนี้ เราแสนยินดี ยินดีปรีดา เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ทุกคนได้มาสนุกสนาน”
เสียงเพลงวันเด็กดังกึกก้อง เป็นสัญญาณบอกว่าใกล้ถึงวันสำคัญอีกวันหนึ่ง
ที่เยาวชนของชาติต่างเฝ้ารอคอย นั่นคือ “วันเด็กแห่งชาติ” ซึ่งทุกๆ ปี
หน่วยงานทั่วประเทศจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นของขวัญให้กับเด็ก
นับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรัก ความสำคัญ
ที่ผู้ใหญ่มอบให้กับเยาวชนที่เป็นอนาคตสำคัญของชาติ
สิ่งหนึ่งที่คู่กับงานวันเด็กแห่งชาติคือ ”คำขวัญวันเด็ก” ซึ่งทุกปี
ผู้ใหญ่จะมอบคำขวัญ ที่เปรียบเสมือน คติข้อคิด
แนวทางและความคาดหวังของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กตามแต่ละยุคสมัย ซึ่ง
นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้
แสดงความคิดเห็นไว้ว่า คำขวัญวันเด็กนั้นมีมาตั้งแต่ ปี 2498 ซึ่งมีทั้งหมด
51 คำขวัญ หากวิเคราะห์ในแต่ละยุคสมัยก็จะเห็นว่า
มีความแตกต่างไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
ถ้าเป็นสมัยก่อนในช่วงยุคอำนาจนิยม คำขวัญจะเน้นเรื่องความรักชาติ
และหน้าที่ของเด็ก ก็จะมีวาทะกรรมที่เกี่ยวข้องคือ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์
มีวินัย
“หากนำคำขวัญที่เป็นเหมือนวาทะ
กรรม และความคาดหวังที่มีต่อเด็กในแต่ละปี
ให้เป็นของขวัญที่เป็นจริงและเป็นสิ่งที่เด็กอยากได้จากวันเด็กคือ “ความสุข ความรัก และการเห็นคุณค่า” หมอเดวบอก
นพ.สุริยเดว ยังบอกอีกว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความรัก
ความสุข และการเห็นคุณค่า
ต้องเกิดจากพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่สื่อสร้างสรรค์
หากใส่กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพเด็กไปยัง 2
พื้นที่กิจกรรม ซึ่งทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับเด็กและครอบครัว รวมไปถึง
ภายในชุมชน
และโรงเรียนอีกด้วย นอกจากนี้การจัดตั้งให้มีฝ่ายงานด้านเด็กเยาวชนและครอบ
ครัว ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้
และการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เพียงเท่านี้ความฝันของเด็กเป็นจริงได้
นพ.สุริยเดว ยังเน้นย้ำเรื่องการดูแลเอาใจใส่เด็กอีกด้วยว่า สิ่ง
ที่เป็นเหมือนหัวใจหลักในการดูแลเด็ก ในทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเจนแซด
หรือเจนต่อๆ ไป คือ ความรัก
และสัมพันธภาพ โดยผู้ใหญ่ทุกคนต้องมีสัมพันธภาพที่ดีต่อเด็ก
ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ใช่เป็นผู้พูดที่เก่ง สามรถรับฟังปัญหาของเด็ก
และเป็นเหมือนผู้ช่วย หรือเพื่อนคู่คิดที่ให้คำปรึกษา และคอยสนับสนุน
เอาใจช่วยเด็กให้ทำในสิ่งที่ดีงาม
การเฝ้าระวังเด็กต้องเน้นทั้งด้านบวกและลบ ไม่ใช่การจับผิด
แต่ต้องพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพเด็ก เปิดโอกาส แนะนำ และให้คำปรึกษา
ไปพร้อมๆ กับการเฝ้าระวังการกระทำและพฤติกรรมเสี่ยงของเด็ก
“อีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันคือ การส่งเสริมด้านคุณธรรม
จริยธรรม ให้กับเด็ก เพราะปัจจุบัน สื่อมีบทบาทและอิทธิพลต่อเด็กมากขึ้น
ผู้ใหญ่เองควรให้ความรู้ คำแนะนำที่ถูกที่ควรให้กับเด็ก
สำหรับการรับสื่ออย่างถูกต้องและสื่อเองควรสอดแทรกความรู้ให้เด็กมากกว่า
ความบันเทิงเป็นหลัก”
นพ.สุริยเดว กล่าวทิ้งท้าย
เรื่องโดย พิมพ์ชนก ศรเพชร Team Content www.thaihealth.or.th