วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปวดท้อง...ลางบอกโรคร้าย

ปล่อยไว้อาจอันตรายถึงชีวิต!!

 
          ใคร ทีมักจะปวดท้องบ่อยๆ แต่ไม่ว่าปวดท้องเพราะอะไรอาจเป็นสัญญาณอันตรายโดยไม่รู้ตัว ถ้าปล่อยไว้เห็นทีจะไม่ดีแน่ ลองมาดูวิธีการเช็คโรคจากอาการปวดท้องเป็นเกร็ดความรู้กันสักหน่อยดีกว่า

          การ เช็คอาการปวดท้องโดยทั่วไป แพทย์จะพิจารณาจากตำแหน่งของอวัยวะและลักษณะของอาการปวดเพื่อประกอบการวินิจ ฉัย เช่น ปวดแบบเป็นๆ หายๆ ปวดหลังรับประทานอาหาร หรือหิวก็ปวด อิ่มก็ปวด เหล่านี้จะเป็นแนวทางช่วยให้ทราบอาการปวดท้องได้ "ตรงจุด" มากขึ้น

          หากปวดท้องด้านขวาตอนบน ความเจ็บปวดในบริเวณด้านขวาตอนบนของช่องท้องมันเกิด จากโรคตับและถุงน้ำดี หรือในบางครั้งโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่ถุงน้ำดีก็อาจเกิดขึ้นบริเวณส่วนท้องน้อยก็เป็นได้ แต่ถ้าปวดท้องบริเวณแอ่งกระเพาะอาหาร คือ บริเวณที่อยู่ใต้ซี่โครงลงมา การเจ็บปวดบริเวณนี้มักเกิดจากการแสบกระเพาะอาหารและอาหารไม่ย่อย โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบอาจเกิดขึ้นในบริเวณนี้ได้ เช่นเดียวกัน แต่หากมีอาการแสบกระเพาะอาหาร นั่นอาจเกิดจากกรดและอาการเจ็บปวดเนื่องจากแผลในกระเพาะ

          แต่ถ้าหากปวดท้องด้านขวาตอนล่างอาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบอย่างเฉียบพลัน หรืออาการอักเสบของลำไส้ ปวดท้องด้านซ้ายตอนบน อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดในลำไส้ใหญ่ เช่น โรคท้องผูกหรืออาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้ใหญ่ แต่ถ้าหากปวดท้องส่วนกลางส่วน ใหญ่มักเกิดจากสาเหตุที่มาจากโรคที่เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้อาการปวดท้องที่บริเวณนี้อาจเกิดจากไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งมักเริ่มที่บริเวณนี้ก่อนเสมอ แล้วจึงเลื่อนมาเป็นบริเวณท้องน้อย

          ปวดท้องด้านซ้ายตอนล่าง อาการปวดที่เป็นลักษณะปวดและคลายสลับกัน พร้อมกับอาการท้องร่วง หรือเกิดจากอาการท้องผูก อาจเกิดจากโรคถุงตันหรือที่เรียกกันว่าไส้ตันเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ อักเสบ (Diverticulitis)

          เท่า ที่กล่าวมาเป็นแค่ปราการป้องกันให้ตระหนักว่าอาการปวดท้องอาจเป็นสัญญาณ อันตรายของโรคร้ายได้ คำแนะนำดังกล่าวช่วยให้ตรวจดูอาการปวดท้องเบื้องต้นได้ว่าน่าจะเกิดจากอะไร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะฟันธงได้เลยว่าป่วยเป็นโรคอะไร

          ทาง ที่ดีต้องไปพบแพทย์เพื่อวิจัยฉัยอย่างละเอียด หากเกิดอาการปวดท้องขึ้นมาก็ให้บอกอาการปวดกับแพทย์ให้ตรงจุด ที่สำคัญอย่าไปหาซื้อยามารับประทานเองเชียว เพราะหากรักษาผิดจุดขึ้นมาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น