1. สร้างบรรยากาศให้อยากอ่านหนังสือ
บรรยากาศที่เงียบสงบ ร่มรื่น เย็นสบาย ไม่ร้อน อากาศถ่ายเทได้ดี จะช่วยสร้างบรรยากาศให้อยากอ่านหนังสือ และเป็นการเรียกสมาธิจากการอ่านได้อย่างดี
2. อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
การอ่านหนังสือให้เด็กฟังก่อนนอน และมีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ จะช่วยกระตุ้นความอยากรู้ของเด็กต่อเนื้อหาในหนังสือมากยิ่งขึ้น
คนที่ชอบอ่านหนังสือในห้องนอน สะท้อนถึงการชอบนอนอ่านและความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ที่มีบุตรหลานใช้โอกาสก่อนเข้านอนเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง หรือใช้เวลาสำหรับการอ่านหนังสือร่วมกัน โดยนิทานที่อ่านให้บุตรหลานฟัง มีทั้งนิทานพื้นบ้าน นิทานอีสป
หากเป็นหนังสือสำหรับเด็ก จะมีเนื้อหาที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับสุขลักษณะนิสัย และพฤติกรรมของเด็ก เช่น หมีน้อยไม่ยอมสระผม หนูนิดไม่อยากไปโรงเรียน หนูนิดไม่ชอบทานผัก ช้างขี้โมโห ร่างกายของฉัน และส่วนใหญ่นิทานที่ผู้ปกครองเลือกมาเล่าหรืออ่านให้ฟัง จะเป็นนิทานสำหรับเด็ก เสริมสร้างจินตนาการ สร้างเสริมลักษณะนิสัย ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสอดเทรกเนื้อหาสอนใจให้กับเด็กๆ ด้วย เช่น กระต่ายกับเต่า เด็กเลี้ยงแกะ ลูกหมูสามตัว สโนวไวท์ และในจำนวนนิทานที่เล่าให้เด็กฟังพบว่ามีนิทานเรื่องพระเวสสันดร สุวรรณสาม รามเกียรติ์ ที่เป็นวรรณคดีไทยรวมอยู่ด้วย
3. ส่งเสริมให้เด็กพกหนังสือติดกระเป๋าตลอดเวลา เพื่อให้เด็กหยิบมาอ่านได้ทันทีเมื่อมีเวลาว่าง
สำหรับเด็กเพิ่งเริ่มอ่านให้เริ่มต้นจากหนังสือภาพที่เนื้อหาสั้น เข้าใจง่าย มีภาพสวยงาม และเด็กเป็นผู้เลือกด้วยตัวเอง โดยผู้ปกครองอ่านให้ฟัง สลับกับให้เด็กอ่านให้ผู้ปกครองฟังจนกระทั่งเด็กสามารถอ่านได้ด้วยตนเอง
4. เล่านิทานประกอบกิจกรรม
ผู้ปกครองควรอ่านออกเสียงและให้เด็กอ่านตาม พร้อมทำกิจกรรมในหนังสือ เช่น วาดรูประบายสี ทำท่าทางประกอบการเล่า ปิดไฟ ส่องเพดานเล่าประกอบกับเงา
5. พาเด็กไปร้านหนังสือ และให้โอกาสในการเลือกซื้อหนังสือด้วยตัวเอง หากมีงานเทศกาลเกี่ยวกับหนังสือก็พาเด็กไปร่วมเพื่อให้เห็นบรรยากาศของการ อ่าน
ที่มา : ไทยคิดส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น