นพ.ศรายุธ
อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี
กล่าวถึง การดื่มน้ำร่วมแก้วกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ก่อนแล้ว
เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อโรคติดต่อ
โดยเฉพาะผู้ใช้แรงงาน คนงานการเกษตร
ที่มักจะนำน้ำดื่มใส่ภาชนะใบใหญ่
แล้วนำมาดื่มร่วมกันโดยใช้แก้วน้ำใบเดียวกัน
พบว่ามีความเสี่ยงต่อโรคติดต่อหลายโรค ดังนั้นประชาชนควร
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำร่วมแก้วเพื่อป้องกันกันการติดเชื้อโรคจากทางน้ำลาย
จากพฤติกรรมเสี่ยงที่บ่งชี้ถึงอันตรายที่จะได้รับเชื้อโรคคอตีบ
โดยเตือนกลุ่มพิเศษโดยเฉพาะผู้ใช้แรงงานอันเนื่องมาจากในเดือน พฤศจิกายน
จนถึงเดือนธันวาคม เกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว
และตัดอ้อยซึ่งจะมีการว่าจ้างคนงานเกษตรเป็นจำนวนมากเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
ซึ่งกลุ่มแรงงานเหล่านี้อาจมาจากหลากหลายพื้นที่
และแรงงานต่างด้าวในโรงงานที่หันมารับจ้างพิเศษในช่วงวันหยุดของโรงงาน
จะมีการนำภาชนะบรรจุน้ำดื่มไว้บริการกันเองในกลุ่มแรงงานด้วยกัน
โดยใช้แก้วน้ำเพียงใบเดียว ขันตักน้ำใบเดียว
เมื่อดื่มน้ำแล้วก็ไม่มีการล้างแก้ว ล้างขันให้สะอาด
จึงทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดต่อ ที่สำคัญคือ โรคคอตีบ โรคหวัด
โรคมือ เท้า ปาก และโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำอื่นๆ
ไม่เฉพาะกลุ่มแรงงานเกษตรเท่านั้น
ยังมีกลุ่มนักดื่มที่นิยมดื่มเหล้าจากแก้วใบเดียวกัน
จึงขอความร่วมมือให้นายจ้างที่จำเป็นต้องจ้างแรงงานเกษตรมาทำงานให้ความ
สำคัญกับน้ำดื่มโดยเฉพาะ
หากสามารถใช้แก้วน้ำกระดาษประเภทใช้แล้วทิ้งจะปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
หรือจัดให้มีบริเวณสำหรับล้างแก้วน้ำหลังดื่มเสร็จทุกครั้ง
และขอให้ร้านค้าที่มีบริการน้ำดื่มฟรีดูแลให้มีหลอดดูดที่สามารถใช้แล้วทิ้ง
ได้เลยนอกจากจะประหยัดได้แล้วยังปลอดภัยอีกด้วย
ในส่วนของกรรมกรผู้ใช้แรงงานให้จัดหาภาชนะแก้วน้ำสะอาด หลอดดูด
หรือการนำกระติกน้ำดื่มส่วนตัวแทนการดื่มน้ำร่วมกับผู้อื่น
เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อที่อาจจะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชน
ในช่วงต้นฤดูหนาวนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการ ไข้
เจ็บคอ กลืนลำบาก และหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
จะต้องระวังการดื่มน้ำในที่สาธารณะจากแก้วน้ำที่ใช้ร่วมกัน
ผู้ป่วยและผู้มีอาการไข้ เจ็บคอต้องได้รับการรักษาจากแพทย์
และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ที่มา : หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น